5 อันดับ ตอนของ "ยามิชิไบ" ที่ "ได้ข้อคิดสอนใจที่ดีที่สุด"


ยามิชิไบในแต่ละตอน มิได้มีแค่ความหลอนสยองขวัญเท่านั้น เมื่อติดตามผ่าน Season ต่อๆ ไป ก็พบว่าบางตอนค้นพบข้อคิดหรือคติสอนใจได้ และบางตอนตีความกันอย่างเมามันส์ จนพบว่าตอนนี้สื่อข้อคิดอะไร...

ผมจึงคัด 5 ตอนที่ ได้ข้อคิดสอนใจที่ดีที่สุด และเป็นตอนที่เข้าใจง่ายมาฝากกัน ว่ามีตอนอะไรบ้าง ไปชมกันครับ



อันดับที่ 5: S1 E13 ผู้ทรมาน (疼憑き)


กลุ่มเด็ก 3 คน แอบไปชั้นบนของที่ใดที่หนึ่ง โดยใช้ "กล้องส่องทางไกล" ส่องชาวบ้าน ซึ่งมีเรื่องเล่าวว่ามี "ผู้ต้องทรมาน" ปรากฎตัวอยู่ในบ้าน ด้วยความอยากรู้อยากเห็น โชตะ พยายามจะส่อง ดู แต่ไทจิแย่งเอามาเห็นอะไรบางอย่างก็เสียสติ... และหลังจากนั้น โชตะ เอากล้องส่องทางไกลไปคืนถึงที่บ้านของไทจิ ก็พบว่า......

ในตอนนี้ มีคำพูดที่สะดุดความรู้สึก ก่อนที่ความหลอนจะจู่โจมได้ก็คือ

เพื่อนคนอ้วนๆ: "ผู้ทรมาณ (อุสึกิ) เป็นสิ่งที่ห้ามมองดูเด็ดขาด... ย่าของฉันเล่าตอนสมัยเด็กๆ ว่ามันโผล่ออกมา แล้วก็ไม่เห็นเพื่อนของย่าคนนั้นอีกเลย..."

โชตะ: (ตอนส่องกล้อง) "มีใครโผล่ออกมา แต่ทำไมทุกคนถึงปิดตากันหมด"

และตอนที่โชตะเอากล้องส่องไปคืน แล้วเห็นอะไรบางอย่าง ลุงของไทจิบอก...

"อย่าดูนะ"

และตอนสุดท้าย โชตะอยากดูนักใช่ไหม ตอนจบเลยจัดเต็มจนเหวอ!!!

ที่กล่าวมาข้างต้น เหมือนเป็นจุดเน้นอะไรบางอย่าง ที่บอกว่า อย่าดู อย่าดู และก็อย่าดู... ถ้าดูผลกระทบที่ไทจิได้รับ เหมือนจะเห็นสิ่งที่สื่อเป็นข้อคิดได้ว่า "อย่าสอดรู้สอดเห็นเรื่องของชาวบ้านนั่นเอง"
ซึ่ง ทางเว็บ metalbridges.com ก็ตีความเรื่องย่อออกมาเป็นความข้างต้นนั่นเอง


แหล่งอ้างอิงอื่นๆ: (เกี่ยวกับตอนที่ 13)
http://www.metalbridges.com/yami-shibai-japanese-ghoststories/ อธิบายเรื่องย่อคร่าวๆ


อันดับที่ 4: S1 E12 โทโมนาริคุง (トモナリクン)


เป็นเรื่องของเด็กหญิงคนหนึ่ง ที่พบกับกลุ่มเด็กๆ ที่กำลังดูเงาที่ตั้งชื่อว่า "โทโมนาริคุง" เด็กๆ พวกนั้บอกว่า โทโมนาริอยากจะมาเล่นกับพี่สาวด้วย แต่พี่สาวขอตัวก่อน และออกปาก "สัญญา" ว่าจะมาเล่นด้วย และนั่นทำให้เด็กหญิงคนนี้พบกับเรื่องน่ากลัวขึ้น!

เป็นที่เข้าใจว่า การ "สัญญา (約束)" นั้น สังคมญี่ปุ่นซีเรียสมาก ถ้าสัญญาอะไรไว้แล้วก็ต้องทำตามอย่างเด็ดขาด ถ้าผิดสัญญากัน ก็จะทำให้ถูกเกลียดหนักไป 3 วัน 7 วันเลยก็ว่าได้  

ในตอนนี้มีการย้อนฉากที่เด็กพูดหญิงพูดคำว่า "สัญญา" ก่อนที่จะถูกผีหลอกให้มารวมอยู่กับโทโมนาริคุงนั้น... สื่อให้เห็นเลยว่า ถ้าไม่อยากจะเล่นด้วยจริงๆ ก็ไม่ต้องออกปากขนาด หรือพูดสัญญาไปเรื่อยเปื่อย 

ข้อคิดของตอนนี้จึงเป็น "อย่าพึ่งรับปากสัญญาอะไรกับใครไป ถ้ายังไม่รู้สึกตกลงอะไรกันจริงๆ"


อันดับที่ 3: S5 E03 เด็กอีกา (カラスの子)


เป็นเรื่องของ ซาเอะ ที่แม่พาไปเที่ยวบ้านยาย พอไปถึงก็พบ หญิงชราลึกลับคนหนึ่ง ที่ถูกเรียกว่า "ป้าอีกา" แต่สิ่งที่เกิดขึ้นจริงๆ นั้น ตอนไปถึงบ้านแล้ว แม่คุยกับยายนานเกินไปจาซาเอะหายไปจากบ้าน... เมื่อแม่ไปตามหาซาเอะจนเจอก็พบสิ่งหนึ่งที่ซาะเอะเห็นไม่เหมือนกับที่แม่เห็น...

ยามิชิไบ ไม่ได้แทรกข้อคิดสอนแต่เด็กๆ อย่างเดียว เพราะมีอีกมุมมองหนึ่งที่สอนผู้ใหญ่ด้วยเช่นกัน 

ถ้าพ่อแม่จะสอนลูกว่า อย่าไปเถลไถลไปที่ไหน... แล้วพ่อแม่ล่ะ? จะตำหนิลูกสอนลูกเพียงข้างเดียวอย่างนั้นน่ะหรือ? พ่อแม่ผู้ปกครอง ก็ควรจะติดตามสอดส่องดูแลเด็กไว้ให้ดีๆ ซึ่งตอนจบ ป้าอีกาได้กล่าวไว้ว่า

"อย่าปล่อยมือนั้นเด็ดขาดนะ... ไม่งั้นเด็กๆ จะบินหนีออกไป"

ซึ่งตอนนี้ เป็นข้อคิดที่สอนไปในทางผู้ใหญ่มากกว่าเด็ก เพราะผู้เป็นพ่อแม่ผู้ปกครอง จะต้องดูแลบุตรหลานของตนไว้ให้ดีๆ อย่าให้คลาดสายตา มิฉะนั้น เด็กอาจจะพลัดหลงหรือเกิดเรื่องที่ไม่คาดฝันเอาก็ได้...

อันดับที่ 2: S2 E01 ทาโร่จัง (タロちゃん)


สำหรับตอนแรกของ Season 2 มีเนื้อหาที่เข้าใจง่าย นายตำรวจชื่อ "ฮาตานากะ" มาสอนเรื่องความปลอดภัยในการข้ามถนน โดยแสดงหุ่นกระบอกชื่อ "ทาโร่จัง" และทีนี้ ทาโร่จังที่ว่า ไม่ใช่แค่หุ่นกระบอกธรรมดาเสียด้วย!... 

ความพีคของตอนนี้ ฮาตานากะไม้ต้องเล่าแทน ทาโร่จังเล่าเองหมดเลย ทาโร่จังเป็นเด็กที่ชอบปั่นจักรยานด้วยความเร็วสูง และบอกว่าตัวเองขับไปชนรถบรรทุกกระเด็นไปกระแทกตกพื้นตาย... 

ตอนนี้ผมถือว่า เนื้อหาการนำเสนอเต็ม 10 เลย โดยเฉพาะฉากจบที่ทาโร่จังกระเด็นตกพื้น ทำให้ผมไปจินตนาการถึงตอนตายของทาโร่จังได้เลย ดูเหมือนเป็นสภาพเดียวกันกับที่ประสบอุบัติเหตุ...

ข้อคิดของตอนนี้ ไม่ซับซ้อน เข้าใจง่ายเลยถึง "เกี่ยวกับการใช้รถใช้ถนนให้ปลอดภัย" จะต้องรอให้ผีอีกกี่ตัวมาเตือนคนเราถึงจะยอมปฏิบัติตัวกัน... ดังนั้น ขอให้พวกเราจงไม่ประมาทในการใช้รถใช้ถนนนะครับ 

อันดับที่ 1: S2 E11 เก็บได้ (拾い業)


ฮางะ เคตะ กำลังนั่งรถไฟกลับบ้าน บังเอิญไปเจอต้นฉบับนิยายเรื่องหนึ่ง พอไปอ่านจบ ก็เห็นประกาศประกวดนักเขียนหน้าใหม่ ก็เลยเอาผลงานของใครก็ไม่รู้ไปส่ง แล้วแอบอ้างว่าเขียนเอง พอจะรับรางวัล ก็ต้องเจอจุดจุบที่ถอนตัวไม่ขึ้น!!!

ข้อคิดเรื่องนี้ สื่อได้ทันทีถึงเรื่อง "ทรัพย์สินทางปัญญา" ผลงานทุกชิ้นงานของคนที่ทำมาล้วนมีคุณค่าทางจิตใจของผู้สร้างสรรค์อันนี้ขึ้น แน่นอนว่า แต่ละผลงานสร้างสรรค์ มักจะมีผู้ไม่ประสงค์ดี พยายามจะเอาผลงานของคนอื่นมาแอบอ้างว่าเป็นของตัวเอง ซึ่งแน่นอนว่าเป็นอะไรที่เจ้าของรับไม่ได้อยู่แล้ว  ทรัพย์สินทางปัญญานั้น มีมูลค่ามหาศาลยิ่งกว่าเงินหลายล้านเลยทีเดียว!!




ถือว่า การที่มาเจอข้อคิดอะไรดีๆ จากเรื่องสยองขวัญจากยามิชิไบ ก็ได้อะไรที่เอาไปสอนจิตใจทั้งตัวเองและผู้อื่น และเข้าถึงได้ทุกเพศทุกวัยแบบนี้ ก็เป็นสิ่งที่คุ้มค่านอกจากการได้เสพความหลอนนั่นเอง


ความคิดเห็น